สื่อ ตัวกลางแห่งความขัดแย้งในไทย?????

Media caught in the middle of Thai conflict
By Shawn W. Crispin/Southeast Asia Representative
๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ที่มา – 
Committee to Protect Journalists
แปลและเรียบเรียง – chapter 11

สื่อได้กลายมาเป็นตัวการสำคัญของความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ทวีความรุนแรงขี้น สถานีโทรทัศน์เสนอข่าวผ่านดาวเทียมของเอกชนสองช่อง ต่างประกาศสนับสนุนในการเคลื่อนไหวบนท้องถนนของการเมืองที่กำลังแข่งขันกัน สื่อต่างๆที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจรัฐได้ถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตีอย่างหนัก โดยกล่าวหาว่า เสนอข่าวบิดเบือนความจริงในเหตุการณ์ขั้นวิกฤติเมื่อไม่นานมานี้

ในขณะที่ความขัดแย้งยังคงทวีความรุนแรงมากขี้น รัฐบาลยังคงกลับไปตั้งหน้าตั้งตาทำการเซ็นเซอร์อย่างไร้กฎเกณฑ์ และแอบกระทำการข่มขู่ นักข่าวทุกแขนงในประเทศนี้ต่างกำลังเผชิญหน้าต่อสิ่งที่พวกเขาได้กลัวว่า ประสิทธิภาพในการรวบรวมและการเสนอข่าวอย่างเป็นกลางจะถูกคุมคาม และเป็นการขัดขวางความมีเสรีภาพของสื่อ

เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปูทางให้เกิดการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อผู้ประท้วงบนท้องถนนฝ่ายนิยมทักษิณ ผู้ซึ่งได้ล้อมทำเนียบรัฐบาล ปิดกั้นถนนสายหลักในกรุงเทพ และขัดขวางการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะมีขี้นนอกกรุงเทพ ส่วนหนึ่งของพระราชกำหนดนั้น รัฐบาลไทยได้มอบหมายอำนาจให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบข่าว ที่คาดว่าจะนำมาซึ่งความไม่มั่นคงต่อประเทศชาติ

เจ้าหน้าที่ได้ใช้อำนาจในการตรวจสอบที่ได้รับมอบหมายทำการปิดกั้นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ปิดสถานีวิทยุชุมชน ๓ สถานี และปิดเว็บไซต์มากกว่า ๗๐ เว็บที่ถูกหมายหัวว่าจะเกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกปล้นอำนาจโดยการถูกทหารทำการรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ ในระยะที่มีการปราบปราม สถานีวิทยุชุมชนที่นิยมทักษิณอย่างน้อย ๓ สถานีได้ถูกระงับการออกอากาศ

เจ้าหน้าที่แก้ตัวว่าการตรวจสอบเพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ อ้างว่าแหล่งข่าวบางแหล่งได้เสี้ยมให้เกิดความวุ่นวายและยุยงให้มีการใช้ความรุนแรง การปิดสถานีโทรทัศน์ดีสเตชั่น ซึ่งได้มีการถ่ายทอดการปราศัยผ่านวิดิโอสดๆของทักษิณจากที่หลบภัยเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ต่อผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวประท้วงของกลุ่ม นปช. ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ที่มาร่วมชุมนุมกันอยู่บนท้องถนนในกรุงเทพ

ในคืนนั้น ทักษิณเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนเสื้อแดงลุกขี้นมาทำการ “เปลี่่่่่ยนแปลงโดยประชาชน” ต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ การออกอากาศถ่ายทอดเป็นเหตุให้กองทัพจัดกำลังเข้าทำการปราบปรามเมื่อเช้าตรู่ของวันที่ ๑๓ เมษายน กำลังทหารได้เข้าปะทะกับผู้ชุมนุมซึ่งมีระเบิดขวดเป็นอาวุธ ในการปะทะกันนี้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บมากกว่า ๑๐๐ คน หลายคนได้รับบาดเจ็บสาหัส ทั้งรัฐบาลและกองทัพอ้างว่าไม่มีใครเสียชีวิต และทหารเพียงแต่ยิงกระสุนเปล่าเข้าไปยังผู้ชุมนุม

ทั้งทักษิณและแกนนำ นปช. ได้แย้งกับตัวเลขของทางการอย่างถึงพริกถึงขิง อ้างถึงการให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติรวมทั้ง บีบีซี และซีเอ็นเอ็นว่า ผู้ประท้วงหลายคนได้ถูกยิง ถูกฆ่า และถูกลากขี้นรถบรรทุกของทหาร และพวกเขาได้อ้างว่า สื่อในประเทศ รวมถึงสถานีโทรทัศน์ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลสมคบคิดกันกับรัฐบาลปิดข่าวดังกล่าว

สถานีโทรทัศน์ช่อง ๕ และช่อง ๗ มีกองทัพเป็นเจ้าของ ในขณะที่สถานีโทรทัศน์ช่อง ๓ ช่อง ๙ และสถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ สื่อต่างประเทศและสำนักข่าวสารต่างๆที่ทำการรายงานข่าวการปราบปรามนั้น ไม่ได้เสนอข่าวยืนยันคำอ้างดังกล่าวของทักษิณ

นักการทูตต่างประเทศในเมืองไทยท่านหนึ่ง ได้ให้สัมภาษณ์กับ ซีพีเจ โดยไม่ต้องการเปิดเผยตัว ว่ายังไม่ได้ตัดทิ้งทั้งหมดในข้อที่ว่า อาจจะมีผู้ประท้วงถูกฆ่าตายหลายคนในระหว่างการชุลมุนในตอนเข้าตรู่วันนั้น เนื่องจากกองทัพไทยเคยมีประวัติไม่ดีในเรื่องสิทธิมนุษยชนมาก่อน นักการทูตท่านเดิม ได้ตั้งคำถามในเรื่องคุณภาพของวิดิโอที่มีภาพไม่ชัดเจนจากที่ถ่ายทำ และได้ถูกแจกจ่าย โดยพรรคเพื่อไทยฝ่ายทักษิณ

สื่อต่างชาติคนดังหลายๆคนประจำกรุงเทพ รู้สึกถึงความลำเอียงในการเสนอข่าวของสื่อฝ่ายรัฐบาลในเมืองไทยในเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมานี้ มาลวัน มะแคน-มาร์คาร์ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยได้เขียนบทความลงอินเตอร์เพรสเซอร์วิสเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายนนี้ มีใจความว่า การเซ็นเซอร์สถานีดีสเตชั่น “เป็นการแฉอย่างไม่ตั้งใจให้เห็นถึงความลำเอียง ที่เกาะติดอยู่กับสื่อของประเทศไทย”

เขาได้เขียนต่อว่า “หนังสือพิมพ์และการถ่ายทอด ไม่ได้ถูกเซ็นเซอร์ (แต่) ได้พรรณาภาพของพรรคร่วมที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์แต่ในเชิงบวก”

อภิสิทธิ์ได้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน แต่เจ้าหน้าที่ยังคงบล็อกสถานีดีสเตชั่น เป็นเรื่องไม่แน่ชัดว่าสถานีวิทยุชุมชนอีก ๓ สถานี ซึ่งถูกบุกและถูกปิดในช่วงวิกฤติจะยังคงออกอากาศได้อีกหรือไม่ ไทยเน็ทติเซนเนทเวิร์ค กลุ่มรณรงค์เพื่อเสรีภาพทางอินเตอร์เน็ต ได้กล่าวว่า รัฐบาลได้ยกเลิกการควบคุมเว็บไซต์ที่นิยมทักษิณมากกว่า ๗๑ เว็บ

สื่ออีกแหล่งที่พัวพันทางการเมืองก็ถูกคุกคามเช่นกัน นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำของพันธมิตรที่ได้ทำการต่อสู้โดยการเคลื่อนไหวบนท้องถนน และเจ้าของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี เพิ่งรอดตายหวุดหวิดจากการลอบสังหารโดยการถูกยิงรถถล่มในเวลาเช้าตรู่ของวันที่ ๑๗ เมษายน ผบ.ทบ. พล อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ได้กล่าวกับสื่อในประเทศว่าปลอกกระสุนที่พบในที่เกิดเหตุ ซึ่งใช้ลอบยิงทำร้ายนั้นมีเครื่องหมายของกองพลทหารราบที่ ๙ ขณะนี้ตำรวจกำลังทำการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว

เอเอสทีวีถูกใช้เป็นเครื่องมือในการออกอากาศเพื่อต่อต้านรัฐบาลของพันธมิตรเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้เกิดการยึดทั้งสนามบินนานาชาติและสนามบินในประเทศ และรัฐบาลของฝ่ายทักษิณถูกยุบไปถึงสองรัฐบาล เมื่อไม่นานมานี้ผู้บรรยายข่าวของเอเอสทีวีได้วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนต่อกองทัพและตำรวจที่ประสบความล้มเหลว ที่จะรักษาความปลอดภัยในระหว่างการประท้วงของ นปช. ซึ่งเมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา รถของนายกรัฐมนตรีได้ถูกทุบถึงสองครั้ง

เบื้องหลังการต่อต้านกับความวุ่นวายนี้ ผู้สื่อข่าวหลายคนประจำกรุงเทพมีความกลัวถึงการปราบปรามสื่อในวงกว้างที่กำลังใกล้เข้ามา รัฐบาลได้ส่งสัญญาณเป็นลางบอกเหตุออกมาหลายครั้ง รัฐมนตรีสาธิตย์ วงศ์หนองเตย ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวไทยจากสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่ออาทิตย์ที่แล้วว่า รัฐบาล “ได้จับตาดูสื่อต่างประเทศบางกลุ่มซึ่งประจำอยู่ทั้งในและนอกประเทศไทย ซึ่งแสดงออก (เหมือนกับว่า) รับใช้ทักษิณ”

นายสาทิตย์กล่าวว่า เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลได้จัดตั้ง “วอร์รูม” และเริ่มปฎิบัติการสงครามข้อมูล “อย่างเต็มตัว” เพื่อจะต่อต้านกับการที่สื่อต่างประเทศนำเสนอการอ้างของทักษิณ เขาได้กล่าวต่อว่าในไม่ช้านี้รัฐบาลจะระบุชื่อนักข่าวต่างประเทศบางคน ซึ่งเขากล่าวหาว่า ได้หนุนหลังทักษิณ และทำให้ประเทศไทยเกิดความเสียหาย

ผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทยจะต้องขอต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงานทุกๆปี และต้องยื่นสำเนาของข่าวที่เขียนล่าสุดของเขาต่อรัฐมนตรีต่างประเทศเพื่อการตรวจสอบอย่างละเอียดและการอนุมัติ แต่ถึงแม้รัฐบาลจะหมดเรื่องกับการข่มขู่นักข่าวบางคนที่ตกเป็นเป้าหมายแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตามก็ยังคงเป็นที่แน่ชัดว่า สื่อจะยังคงวางตัวลำบาก เมื่อต้องเป็นตัวกลางในการรายงานข่าวของความแตกแยก และการขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขี้นในประเทศไทย

(รายงานจากกรุงเทพ)

Source: liberalthai.wordpress.com